วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภูเขาไฟฟูจิยามา



ภูเขาไฟฟูจิยามา
เป็นภูเขาไฟที่ดับลงแล้วและสวยงามใที่สุดในโลกตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นเมืองชิซูโอกะ เป็นรูปฝาชีครอบที่ฐานวัดโดยรอบได้ประมาณ 100 กิโลเมตร ยอดสูง 12,385 ฟุต มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี และบริเวณภูเขาไฟมีสวนสาธารณะ ทะเลสาบ ต้นซากุระที่สวยงามตอนออกดอกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ และก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่น

พีระมิดอียิปต์



พีระมิดอียิปต์ (The Pyramids of Egypt)

พีระมิดอียิปต์เป็นสิ่งมหัสจรรย์ยุคโบราณเพียงสิ่งเดียวที่ยังคงสภาพเกือบสมบูรณ์เหมือนในอดีต ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ณ เมืองกีเซ (Giza) ตอนเหนือของกรุงไคโร เมืองหลวงของอียิปต์ ประกอบไปด้วยพีระมิดใหญ่ 3 องค์ คือ พีระมิดที่บรรจุพระศพของฟาโรห์คีออปส์ (Cheops) คีเฟรน (Chephren) และไมเซอริมุส (Mycerimus) พีระมิดคีออปส์ เป็นพีระมิดที่ใหญ่ที่สุด สร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เดิมสูงถึง 481 ฟุต แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 450 ฟุต ฐานของพีระมิดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 32.5 ไร่ ( 13 เอเคอร์ ) สร้างขึ้นโดยการใช้หินทรายตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมก้อนละประมาณ 2.5 ตัน ถึง 30 ตัน โดยใช้หินทั้งหมดกว่า 2.3 ล้านก้อน ใช้แรงงานทาสและกรรมกรในการก่อสร้างประมาณ 100,000 คน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 20 ปี สำหรับพีระมิดคีเฟรนหรือพีระมิดรูปสฟิงซ์ซึ่งเป็นคนครึ่งราชสีห์ โดยมีใบหน้าเป็นคนมีตัวเป็นราชสีห์อยู่ในท่าหมอบเฝ้าหน้าพีระมิดคีออปส์สูงประมาณ 66 ฟุต

ดวงจันทร์



ดวงจันทร์ ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โคจรรอบโลกทุกๆ 27 วัน 8 ชั่งโมง และขณะเดียวกันก็หมุนรอบแกนตัวเองได้ครบหนึ่งรอบพอดีด้วย ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มนุษย์เพิ่งจะได้เห็นภาพ เมื่อสามารถส่งยานอวกาศไปในอวกาศได้ บนพื้นผิวดวงจันทร์ร้อนมากในบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์ และเย็นจัดในวริเวณเงามืด ที่พื้นผิวของดวงจันทร์มีปล่องหลุมมากมาย เป็นหมื่นๆหลุม ตั้งแต่หลุมเล็กไปจนถึงหลุมใหญ่มีภูเขาไฟและทะเลทรายแห้งแล้ง
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับดวงจันทร์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร มวล 0.012 เท่าของโลก ความหนาแน่น 3.3 เท่าของน้ำ ระยะห่างจากโลกโดยเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร ระยะที่อยู่ใกล้ที่สุด 365,400 กิโลเมตร ระยะห่างมากที่สุด 406,700 กิโลเมตร เวลาหมุนรอบตัวเอง 27.32 วัน (นับแบบดาราคติ) เวลาหมุนรอบโลก 29.53 วัน (นับแบบจันทรคติ) เอียงทำมุมกับเส้นอีคลิปติค 5 องศา เอียงทำมุมกับแกนตัวเอง 6 1/2 องศา
วัฏจักรของดวงจันทร์ เราทราบแล้วว่า ถ้านับเดือนทางจันทรคติ แล้วดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ กินเวลา 29 1/2 วัน ถ้าเรานับจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ที่วันเดือนดับ (New moon) เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่เป็นเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงจันทร์ทึบแสง คนบนโลกจึงมองไม่เห็นดวงจันทร์ แล้วก็เป็นวันข้างขึ้นทีละน้อย เราจะเห็นดวงจันทร์สว่างเป็นเสี้ยวทางขอบฟ้าตะวันตก และจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นสูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก พร้อมกับมีเสี้ยวสว่างมากขึ้น พอถึงช่วงวันขึ้น 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์จะสว่างครึ่งซีกอยู่ตรงกลางท้องฟ้าพอดี (Quarter) วันต่อมาจะเพิ่มเสี้ยวสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันขึ้น 14-15 ค่ำ ดวงจันทร์จะมาอยู่ตรงเส้น ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ทำให้ดวงจันทร์เกิดสว่างเต็มดวง (Full moon) หลังจากนั้นดวงจันทร์กลายเป็นข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปเรื่อยๆ จนหายไปในท้องฟ้าจะเห็นเดือนดับ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับมันโคจรรอบตัวเอง 1 รอบพอดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงซีกเดียวตลอดเวลา

รวงผึ้งเป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูงประมาณ ๕ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มใบเป็นประเภทใบเดี่ยวยาวประมาณ ๗ เซนติเมตร ใบสีเขียวใต้ใบเป็นสีอ่อน และเป็นเกล็ดเล็ก ๆ ดอกสีเหลืองกลิ่นหอม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งข้าง และมักจะบานพร้อมกันกลีบรองดอกมี ๕ กลีบ เหมือนรูปดาว ไม่มีกลีบดอก มีเกสรตัวผู้เป็นจำนวนมาก ดอกบานในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เป็นไม้พื้นเมืองของไทยทางภาคเหนือ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์ด้วยการตอน

กวางผา


ชื่อสามัญ : Goralชื่อวิทยาศาสตร์ : Naemorhedus griseusชื่ออื่น : ม้าเทวดา กวางผาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแพะในวงศ์ย่อย Caprinae เช่นเดียวกับเลียงผา คือ ไม่มีหนวดเครายาวที่คางอย่างแพะ ลำเขาสั้น ปลายเขาโค้งไปข้างหลัง และมีต่อมเปิดที่กีบนิ้วเท้า รูปร่างคล้ายเลียงผาแต่ขนาดเล็กกว่ามาก ลำคอเรียวเล็ก หางยาวและเขาสั้นกว่า ใบหน้าเว้าเป็น แอ่งไม่แบนราบอย่างหน้าเลียงผา ต่อมเปิดระหว่างตากับจมูกเป็นรูเล็กมาก กระดูกดั้งจมูก ของเลียงผาจะยื่นออกเฉพาะส่วนปลาย ท่อนโคนจมูกเชื่อมต่อเป็นชิ้นเดียวกับกระดูก กระโหลก ศรีษะ ลักษณะรูปร่างของกวางผา ดูคล้ายคลึงกับเลียงผา ย่อขนาดเล็กลงเกือบเท่าตัว สีขนตามตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเท่าไม่ดำอย่างเลียงผา ขนตามตัวชั้นนอกเป็นเส้นยาวหยาบ มีขนชั้นในเป็นเส้นละเอียดนุ่ม ซึ่งจะไม่มีพบในเลียงผา ระหว่างโคนเขาทั้ง 2 ข้าง ไปถึงหลัง ใบหู มีกระจุกขนเป็นยอดแหลมสีน้ำตาลเข้มชัดเจนถัดต่อมาบริเวณหลัง และสะโพกมีแผงขน ยาว คล้ายอานม้าบาง ๆ สีเทา กลางหลังมีแถบขนสีดำพาดยาวตามแนวสันหลังไปจรดโคนหาง หางสั้นเป็นพวงสีเข้มดำ ขนใต้คางและแผ่นอกสีน้ำตาลอ่อน เห็นเป็นแถบลายจาง ๆ บริเวณ แผ่นอก สีขนช่วงโคนขาเข้มกว่าช่วงปลายขาลงไปถึงกีบเท้า เขาสั้นสีดำเป็นรูปกรวยแหลม ปลายเขาเรียวแหลมโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย โคนเขารใหญ๋มีรอยหยักเป็นวง ๆ รอบเขาชัดเจน โดยทั่วไปแล้วสีขนของกวางผาตัวเมียจะอ่อนกว่าตัวผู้ เขาสั้นเล็กและมีรอยหยัก รอบโคนเขา ไม่ลึกชัดเจนอย่างเขาของตัวผู้ ขนาดของกวางผาไทย ขนาดตัวประมาณ 80-120 เซนติเมตร หางยาว 7-20 เซนติเมตร ใบหูยาว 10-14 เซนติเมตร ความสูงที่ไหล่ 50-70 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 22-32 กิโลกรัม ขนาดของเขาแต่ละข้างมักยาวไม่เท่าก้น แต่โดยเฉลี่ยความยาวของเขา แต่ละข้างประมาณ 13 เซนติเมตร ขนาด วัดรอบโคนเขาประมาณ 7 เซนติเมตร ออกหากินตามที่โล่งในตอนเย็นและตอนเช้ามืด หลับพักนอนตามพุ่มไม้และชะง่อนหินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่พืชที่ขึ้นตามสันเขาและหน้าผาหิน เช่น หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้ และลูกไม้เปลือกแข็งจำพวกลูกก่อ กวางผาอยู่รวมกันเป็นฝูงๆละ 4-12 ตัว ผสมพันธุ์ในราวเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ออกลูกครอกละ 1-2 ตัว ตั้งท้องนาน 6 เดือน กวางผาจะอยู่บนยอดเขาสูงชันในที่ระดับน้ำสูงชันมากกว่า 1,000 เมตร กวางผามีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ลงมาจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่าและตอนเหนือของประเทศไทย ในประเทศไทยมีรายงานพบกวางผาตามภูเขาที่สูงชันในหลายบริเวณ เช่น ดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ดอยเลี่ยม ดอยมือกาโด จังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณสองฝั่งลำน้ำปิงในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดตาก กวางผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยและอนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I ถึงแม้กวางผาจะมีศัตรูในธรรมชาติน้อยมาก เนื่องจากสภาพถิ่นที่อาศัยของ กวางผา เป็นหน้าผาสูงชันที่สัตว์ทั่ว ๆ ไปไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ แต่แหล่งที่อยู่มีจำกัด อยู่ตาม เขาสูงเป็นบางแห่งของจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก ประกอบกับมีนิสัยอยู่รวม เป็นฝูงและมีอาณาเขตครอบครองแน่นอน ทำให้ถูกพรานชาวเขาตามล่าได้ง่าย โดยดูจาก ร่องรอยการกินอาหารและกองมูลที่ถ่ายทิ้งไว้ อีกทั้งบริเวณที่เป็นแหล่ง ที่กวางผาไม่มีที่อยู่ อาศัยต้องหลบหนีไป อยู่แหล่งอื่นและถูกฆ่าตายไปในที่สุด นอกจากนี้ความเชื่อว่าที่ว่า น้ำมันกวางผามีสรรพคุณใช้เป็นยาสมานกระดูกที่หักได้เช่นเดียวกับน้ำมันเลียงผา ทำให้กวางผาถูกฆ่าตายเพื่อเอาน้ำมันอีกสาเหตุหนึ่งด้วย ปัจจุบันกรมป่าไม้สามารถเพาะขยายพันธุ์กวางผาพันธุ์ไทยได้สำเร็จ แต่เนื่องจาก มีพ่อ-แม่พันธุ์เพียงคู่เดียว สถานการณ์ความอยู่รอดของกวางผาไทย จึงยังอยู่ในขั้น น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง

ถ้ำมรกต


ถ้ำมรกตถ้ำมรกต ถ้ำมหัศจรรย์กลางทะเล Unseen in Thailand นายหมูหินพาเที่ยวดูความสวย สีเขียวมรกตของถ้ำมรกต จังหวัดตรังกันครับกระโดดลงน้ำ ลอยตัวตามเชือก เกาะไหล่กันไปเป็นแถวๆ ส่งเสียงร้องเป็นเพลงบ้าง โห่ร้องเป็นจังหวะๆบ้าง อีกแถวเข้าถ้ำ อีกแถวออกจากถ้ำ ความสนุกสนาน ความอัศจรรย์ ความตื่นเต้นของถ้ำมรกตที่ใครยังไม่ได้ไปสัมผัสนั้นคงยากที่จะเห็นภาพ วันนี้ หมูหิน.คอม อาสาพาท่านๆเที่ยวแล้วครับ มามุดถ้ำลอยคอกลางทะเลดูความสวยงามกับ หมูหิน.คอม กัน

" ถ้ำมรกต" เป็นถ้ำที่อยู่บนเกาะมุกต์ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ถ้ำมรกต ถ้ำมหัศจรรย์กลางทะเล จะเข้าออกได้เฉพาะช่วงน้ำลงเท่านั้น ปากถ้ำเป็นโพรงเล็กๆ การเข้าออกจะต้องลอยคอในน้ำ ลอดถ้ำอันมืดมิด ผ่านเส้นทางคดโค้ง น่าตื่นเต้น ระยะทางความยาวก็อยู่ที่ประมาณ 80 เมตร เข้าแถวเรียง 1 ตามคนนำทางที่ช่ำชอง เมื่อพ้นปากถ้ำจะเจอหาดทรายเล็กๆ สีขาว เม็ดทรายละเอียดยิบ เงยหน้ามองดูด้านบนของถ้ำ จะเห็นท้องฟ้าสีครามเป็นหลังคา รู้สึกคล้ายว่าเราได้ยืนอยู่ในบ้าน เพราะเราจะเห็นภูผาสูงลับฟ้าล้อมรอบทิศทาง คล้ายกับฟ้าเป็นเสมือนหลังคาบ้าน ต้นไม้ที่เกาะอยู่ตามหน้าผาสูงชัน บางต้นมีขนาดใหญ่มาก เกาะตามหน้าผาชัน ดอกไม้ป่าก็มีให้เห็นเป็นระยะๆ โพรงที่ลอดเข้าถ้ำมรกตจะอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเกาะ เมื่อแสงอาทิตย์ทำมุมพอเหมาะทั้งเกาะ เวิ้งของถ้ำก็จกลายเป็นสีเขียวมรกตงดงามมาก
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเที่ยวถ้ำมรกตคือช่วงที่น้ำขึ้นเต็มที่ในแต่ละวัน เนื่องจากจะเห็นทะเลสาบสีมรกตงดงามและเวลาที่แสงจะลอดปากถ้ำมรกตลงมา คือระหว่าง 10.00-14.00 น. การลอดถ้ำสามารถทำได้ตลอดเวลา เดือนที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวคือระหว่างเดือนธันวาคม


ถึงต้นเดือนพฤษภาคม เวลาน้ำลงเพื่อมุดเข้าถ้ำมรกตได้ หากใครที่ต้องการที่จะเข้าไปจะต้องทำเวลานิดครับ เพราะเราต้องดูน้ำขึ้นน้ำลงด้วย เอาเป็นว่าเชื่อคนเลไว้เป็นดีครับ เพราะเค้าเป็นคนพื้นที่ที่สัมผัสมาตลอด เพื่อความปลอดภัยของเราก็ทำตามที่เค้าบอกก็เป็นดีครับ
จากเหตุการณ์ “สึนามิ” ที่เกิดขึ้นในท้องทะเลอันดามันเมื่อไม่นานมานี้ เกิดความเสียหายมากมายที่เกิดขึ้น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้การท่องเที่ยวของไทยซบเซาลงไปพอสมควร ในตอนนั้นผม…นายหมูหินยังเป็นนายสบายอยู่เลยครับ แต่ตอนนั้นนายสบายไม่ได้ไปไหนอยู่ในที่ที่น่าเบื่อมาตลอด ตอนนี้ผมมาเป็นนายหมูหินที่อิสระ มีความสุขกับการท่องเที่ยวโบกโบยบินได้ตามใจต้องการ วันนี้เอง…นายหมูหินพาเที่ยวย้อนรอยถ้ำมรกตที่เคยผ่านมรสุมของสึนามิมาแล้ว ใช่ว่าจะน่ากลัว เพราะเมืองไทยก็คือบ้านของเรา หากเราไม่เที่ยวไม่ช่วยกันรักษา ก็คงยากที่จะเป็น Unseen in Thailand แน่นอน นายหมูหินรับประกันครับไม่แปลกใจที่ทำไมถ้ำมรกตจึงมีผู้คนไปเยี่ยมชมไม่ขาดสายเลย ใช่ว่าถ้ำจะมีอะไรที่แปลกไปมากกว่าที่อืนนัก แต่ความตื่นตาตื่นใจ อยู่ที่การว่ายน้ำลอดถ้ำเข้าไป เพราะการที่เราจะเข้าถึงตัวถ้ำได้ต้องใช้ความสามัคคีกันมาก เพราะถ้าหากมือไม่พายเอาเท้าลาน้ำแล้ว ยังเป็นภาระให้เพื่อนๆร่วมทีมอีกด้วย
ชื่อของ “ถ้ำมรกต” ที่เรารู้จักกันดีก็คือการได้เห็นความเขียวของน้ำที่สะท้อนออกมาจากแสงที่ส่องผ่านปากถ้ำ เห็นเป็นสีเขียวมรกตสวยงดงาม ตื่นตาตื่นใจกับการที่ได้เห็นความสวยงามของธรรมชาติ
การเข้าไปดูความสวยงามนั้นเราต้องกระโดดลงน้ำก่อน แล้วทางเรือจะให้เราว่ายน้ำเข้าคิวต่อแถวตามเชือก เพราะว่าคลื่นจะแรงกว่าที่อื่น เนื่องจากว่าเป็นโขดหิน และคลื่นที่ซัดเข้ามาก็จะกระทบและทำให้คลื่นกระแทกกลับมาอีก ทำให้กระแสน้ำแรกพอควร แต่สถานที่ท่องเที่ยวก็ได้ผูกเชือกให้ความสะดวกไว้ เพื่อที่จะได้ไต่เชือกเข้าไป ความสามัคคีนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเราต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ คำโบราณที่ว่า “มือไม่พายเอาเท้าลาน้ำ” ก็คงยังใช้ได้ดี เพราะเราจะต้องเอามือไปเกาะไหล่คนข้างหน้าเอาไว้ ตอนที่เราลอดถ้ำเข้าไปชมความงาม มือเกาะบ่า เท้าก็ต้องทำงานไปด้วย เพื่อที่จะพยุงและช่วยให้ทีมของเราฝ่าคลื่นเข้าไปให้ได้

ทีมไหนมีคนกินแรกเยอะก็จะไปได้ช้าหน่อย ทีมไหนสามัคคีกันก็จะไปได้เร็วมากไม่เสียแรงเยอะ และที่เราต้องสังเกตุให้ดีคือ “เพื่อนร่วมทีม” ที่อยู่ทั้งข้างหน้าข้างหลัง เพราะลูกเรือที่คุมทีมเค้าจะให้เราออกเสียงเป็นจังหวะ เพื่อที่จะได้สังเกตุว่าเพื่อนๆที่อยู่หน้าและหลังเรานั้น อยู่ครบดีหรือปล่าว เพราะการลอดถ้ำมรกตนั้นมืดสนิท ไม่มีแสงใดๆทั้งสิ้น การที่เราส่งเสียงนั้น ทำให้เราสามารถสังเกตุเหตุการรอบข้าวเราได้ว่าเหตุการปกติดี เพื่อนอยู่ครบ และนั่นก็เป็นอีกบรรยากาศหนึ่งที่น่าสัมผัส ความอัศจรรย์ของถ้ำมรกตเหมะสมแล้วที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยกให้ “ถ้ำมรกต” เป็น Unseen Thailand

เกาะ


เกาะกระดาน
เป็นเกาะที่สวยเกาะหนึ่งของจังหวัดตรัง มีเนื้อที่ประมาณ 600 ไร่ ซึ่ง 5 ใน 6 ส่วนของเกาะนี้ อยู่ในความรับผิดชอบของ
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ที่เหลือเป็นสวนยางและสวนมะพร้าวของเอกชน รวมทั้งร้านอาหารและที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว จุดเด่นของเกาะกระดานคือ ชายหาดที่มีทรายขาวละเอียดเหมือนแป้ง และน้ำใสจนมองเห็นแนวปะการังซึ่งทอดยาวจากชายหาดด้านเหนือถึงชายฝั่ง และมีฝูงปลาหลากสีแหวกว่ายอย่างสวยงาม สำหรับผู้นิยมการโต้คลื่นด้านหลังเกาะมีอ่างเล็กๆ มีคลื่นลูกโตๆ สาดม้วนเข้าหาหาดเป็นระลอกๆ เหมาะสำหรับเล่นกระดานโต้คลื่น เกาะกระดานอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะมุก และเกาะลิบง โดยใช้เวลาเดินทางจากปากเมง ประมาณ 1 ชั่งโมง 40 นาที
รอบเกาะมีชายหาดอยู่ 4 แห่ง เกาะกระดานจึงเป็นเกาะที่สวยที่สุดของทะเลตรัง ที่มีเกาะอื่นรายรอบเป็นบริวาร ชายหาดเป็นทรายขาวละเอียด น้ำใส จนมองเห็นริ้วทรายใต้พื้นน้ำ สุดชายหาดด้านเหนือ มีแนวปะการังทอดยาวออกไปในทะเล บริเวณชายฝั่งเป็นปะการังน้ำตื้น
ชายหาดบนเกาะได้แก่
ชายหาดเกาะกระดาน เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ มีชายหาดขาวยาวประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณด้านหน้าของชายหาด นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำดูปะการัง ซึ่งยาวตลอดแนวชายหาด จากชายหาดสามารถมองเห็นเกาะลิบง เกาะแหวน เกาะมุก และเกาะเชือก และยังสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นได้อีกด้วย
ชายหาดอ่าวเนียง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เป็นหาดทรายขาวยาวประมาณ 800 เมตร ด้านหน้าชายหาดนักท่องเที่ยวนิยมดำน้ำดูปะการัง ซึ่งมีตลอดแนวชายหาด จากชายหาดนี้สามารถมองเห็นเกาะลิบงได้
ชายหาดอ่าวไผ่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เป็นหาดทรายขาวยาวประมาณ 200 เมตร ด้านหน้าของชายหาดไม่มีแนวปะการัง สามารถมองเห็นเกาะเชือก เกาะแหวน เกาะมุก สามารถชื่นชมกับดวงอาทิตย์ตกได้สวยงาม
ชายหาดอ่าวช่องลม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ อยู่เหนือที่ทำการพิทักษ์อุทยานฯ ห่างไปประมาณ 800 เมตร สามารถเดินเท้าขึ้นเนินไปชมดวงอาทิตย์ตก มองเห็นเกาะรอกได้อย่างชัดเจน