ชื่อสามัญ : Goralชื่อวิทยาศาสตร์ : Naemorhedus griseusชื่ออื่น : ม้าเทวดา กวางผาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแพะในวงศ์ย่อย Caprinae เช่นเดียวกับเลียงผา คือ ไม่มีหนวดเครายาวที่คางอย่างแพะ ลำเขาสั้น ปลายเขาโค้งไปข้างหลัง และมีต่อมเปิดที่กีบนิ้วเท้า รูปร่างคล้ายเลียงผาแต่ขนาดเล็กกว่ามาก ลำคอเรียวเล็ก หางยาวและเขาสั้นกว่า ใบหน้าเว้าเป็น แอ่งไม่แบนราบอย่างหน้าเลียงผา ต่อมเปิดระหว่างตากับจมูกเป็นรูเล็กมาก กระดูกดั้งจมูก ของเลียงผาจะยื่นออกเฉพาะส่วนปลาย ท่อนโคนจมูกเชื่อมต่อเป็นชิ้นเดียวกับกระดูก กระโหลก ศรีษะ ลักษณะรูปร่างของกวางผา ดูคล้ายคลึงกับเลียงผา ย่อขนาดเล็กลงเกือบเท่าตัว สีขนตามตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเท่าไม่ดำอย่างเลียงผา ขนตามตัวชั้นนอกเป็นเส้นยาวหยาบ มีขนชั้นในเป็นเส้นละเอียดนุ่ม ซึ่งจะไม่มีพบในเลียงผา ระหว่างโคนเขาทั้ง 2 ข้าง ไปถึงหลัง ใบหู มีกระจุกขนเป็นยอดแหลมสีน้ำตาลเข้มชัดเจนถัดต่อมาบริเวณหลัง และสะโพกมีแผงขน ยาว คล้ายอานม้าบาง ๆ สีเทา กลางหลังมีแถบขนสีดำพาดยาวตามแนวสันหลังไปจรดโคนหาง หางสั้นเป็นพวงสีเข้มดำ ขนใต้คางและแผ่นอกสีน้ำตาลอ่อน เห็นเป็นแถบลายจาง ๆ บริเวณ แผ่นอก สีขนช่วงโคนขาเข้มกว่าช่วงปลายขาลงไปถึงกีบเท้า เขาสั้นสีดำเป็นรูปกรวยแหลม ปลายเขาเรียวแหลมโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย โคนเขารใหญ๋มีรอยหยักเป็นวง ๆ รอบเขาชัดเจน โดยทั่วไปแล้วสีขนของกวางผาตัวเมียจะอ่อนกว่าตัวผู้ เขาสั้นเล็กและมีรอยหยัก รอบโคนเขา ไม่ลึกชัดเจนอย่างเขาของตัวผู้ ขนาดของกวางผาไทย ขนาดตัวประมาณ 80-120 เซนติเมตร หางยาว 7-20 เซนติเมตร ใบหูยาว 10-14 เซนติเมตร ความสูงที่ไหล่ 50-70 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 22-32 กิโลกรัม ขนาดของเขาแต่ละข้างมักยาวไม่เท่าก้น แต่โดยเฉลี่ยความยาวของเขา แต่ละข้างประมาณ 13 เซนติเมตร ขนาด วัดรอบโคนเขาประมาณ 7 เซนติเมตร ออกหากินตามที่โล่งในตอนเย็นและตอนเช้ามืด หลับพักนอนตามพุ่มไม้และชะง่อนหินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่พืชที่ขึ้นตามสันเขาและหน้าผาหิน เช่น หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้ และลูกไม้เปลือกแข็งจำพวกลูกก่อ กวางผาอยู่รวมกันเป็นฝูงๆละ 4-12 ตัว ผสมพันธุ์ในราวเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ออกลูกครอกละ 1-2 ตัว ตั้งท้องนาน 6 เดือน กวางผาจะอยู่บนยอดเขาสูงชันในที่ระดับน้ำสูงชันมากกว่า 1,000 เมตร กวางผามีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ลงมาจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่าและตอนเหนือของประเทศไทย ในประเทศไทยมีรายงานพบกวางผาตามภูเขาที่สูงชันในหลายบริเวณ เช่น ดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ดอยเลี่ยม ดอยมือกาโด จังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณสองฝั่งลำน้ำปิงในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดตาก กวางผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยและอนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I ถึงแม้กวางผาจะมีศัตรูในธรรมชาติน้อยมาก เนื่องจากสภาพถิ่นที่อาศัยของ กวางผา เป็นหน้าผาสูงชันที่สัตว์ทั่ว ๆ ไปไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ แต่แหล่งที่อยู่มีจำกัด อยู่ตาม เขาสูงเป็นบางแห่งของจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก ประกอบกับมีนิสัยอยู่รวม เป็นฝูงและมีอาณาเขตครอบครองแน่นอน ทำให้ถูกพรานชาวเขาตามล่าได้ง่าย โดยดูจาก ร่องรอยการกินอาหารและกองมูลที่ถ่ายทิ้งไว้ อีกทั้งบริเวณที่เป็นแหล่ง ที่กวางผาไม่มีที่อยู่ อาศัยต้องหลบหนีไป อยู่แหล่งอื่นและถูกฆ่าตายไปในที่สุด นอกจากนี้ความเชื่อว่าที่ว่า น้ำมันกวางผามีสรรพคุณใช้เป็นยาสมานกระดูกที่หักได้เช่นเดียวกับน้ำมันเลียงผา ทำให้กวางผาถูกฆ่าตายเพื่อเอาน้ำมันอีกสาเหตุหนึ่งด้วย ปัจจุบันกรมป่าไม้สามารถเพาะขยายพันธุ์กวางผาพันธุ์ไทยได้สำเร็จ แต่เนื่องจาก มีพ่อ-แม่พันธุ์เพียงคู่เดียว สถานการณ์ความอยู่รอดของกวางผาไทย จึงยังอยู่ในขั้น น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น