ปราสาทเขาพระวิหาร
(5415 คนอ่าน) เขตศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาสูง - เปิดเวลา 08.00-15.00 น. - มีร้านอาหาร ห้องสุขา และศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ผามออีแดง - เสียค่าธรรมเนียมเข้าชมสองครั้งที่ด่าน อช. เขาพระวิหาร (ฝั่งไทย) คนไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท รถยนต์สี่ล้อ 30 บาท รถยนต์หกล้อ 100 บาท และปราสาทเขาพระวิหาร (ฝั่งเขมร) คนไทย 50 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท ปราสาทเขาพระวิหาร หรือในภาษาเขมรเรียกว่า เปรี๊ยะวิเฮียร์ ตั้งอยู่บนเขาสูงซึ่งอยู่ในเขตแดนของกัมพูชา แต่ทางขึ้นชมปราสาทนั้นอยู่ในเขตไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ของ อช. เขาพระวิหาร ด้วยเหตุนี้นักท่องเที่ยวจึงต้องเสียค่าเข้าชมสองครั้ง คือ ค่าธรรมเนียมเข้าเขต อช. เขาพระวิหาร และค่าขึ้นชมปราสาทเขาพระวิหาร ไทยกับกัมพูชาเคยเกิดกรณีพิพาทเรียกร้องความเป็นเจ้าของปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ที่ตั้ง ติดเขตชายแดนประเทศไทย บริเวณผามออีแดง ต.เสาธงชัย อ. กันทรลักษ์ จ. ศรีสะเกษ ประวัติ ปราสาทเขาพระวิหารอยู่บนยอดเขาพระวิหาร สูง657 ม. อันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายที่เชื่อว่าพระศิวะซึ่งเป็นเทพเคารพสูงสุดและเป็นศูนย์กลางของจักรวาล สถิตอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ยอดเขาพระวิหารยังถือเป็นเขตภูเขาศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ และความอุดมสมบูรณ์ของสรรพสิ่งของชนพื้นเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งชุมชนอยู่รอบเขาพระวิหาร ก่อนที่จะสถาปนาให้สถานที่แห่งนี้เป็น ศรีศิขเรศวร ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งขุนเขา” เป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์อันศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ของพระศิวะ ตามความเชื่อของขอม สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ทรงสถาปนาให้เขาพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่เรียกกันว่า กมรเตงชคตศรีศิขเรศวร เพื่อหลอมรวมคนพื้นเมืองซึ่งมีทั้งจาม ขอม ส่วย ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระบบความเชื่อเดียวกัน ปราสาทเขาพระวิหารจึงเป็นศูนย์กลางความเชื่อ เป็นศูนย์รวมแห่งพิธีกรรมการนับถือบรรพบุรุษของชนพื้นเมือง มีการอุทิศถวายที่ดิน ข้าทาส วัตถุสิ่งของแด่ปราสาทเขาพระวิหารปราสาทเขาพระวิหารจึงเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญของทั้งกษัตริย์ขอมโบราณและกลุ่มคนพื้นเมืองบริเวณเขาพระวิหารซึ่งเดิมมีชื่อว่า กุรุเกษตร สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือพื้นที่ อ. กันทรลักษ์ อ. ขุขันธ์ จ. ศรีสะเกษ ปราสาทเขาพระวิหารหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือหันมาทางฝั่งไทย ระยะทางจากจุดเริ่มต้นเชิงเขาไปจนถึงปรางค์ประธานที่ตั้งอยู่บนยอดเขาประมาณ 850 ม. หรือเกือบ 1 กม. แบ่งออกเป็นสี่ระดับ แต่ละระดับเป็นที่ตั้งของอาคารรูปกากบาท หรือที่เรียกว่าโคปุระ ซึ่งเป็นพลับพลาหรือซุ้มประตูทางเข้าปราสาท มีสิ่งน่าสนใจตามทางเดินขึ้นปราสาทดังนี้ สิ่งน่าสนใจ @ บันไดนาคหัวลิง เหตุที่เรียกบันไดนาคหัวลิง เพราะนาคมีปากสั้น หัวเกลี้ยง ๆ แทนที่จะมีหงอน หรือเครื่องเคราอย่างนาคทั่วไป บันไดนาคหัวลิงยาวกว่า 100 ม. มีลานพักสองแห่ง ซึ่งประดับด้วยสิงห์หินทรายขนาดใหญ่ อันมีที่มาจากความเชื่อในคติขอมว่าสิงห์เป็นสัตว์มงคล ช่วยปกปักรักษาสถานที่ @ ลานนาคราช เป็นลานหินกว้าง 7 ม. ยาวเกือบ 4 ม. ที่ราวบันไดมีนาคราชเจ็ดเศียรประดับอยู่ นับเป็นสัญลักษณ์ของน้ำหรือมหาสมุทรมหานทีสีทันดรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุหรือปรางค์ประธานไว้
(5415 คนอ่าน) เขตศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาสูง - เปิดเวลา 08.00-15.00 น. - มีร้านอาหาร ห้องสุขา และศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ผามออีแดง - เสียค่าธรรมเนียมเข้าชมสองครั้งที่ด่าน อช. เขาพระวิหาร (ฝั่งไทย) คนไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท รถยนต์สี่ล้อ 30 บาท รถยนต์หกล้อ 100 บาท และปราสาทเขาพระวิหาร (ฝั่งเขมร) คนไทย 50 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท ปราสาทเขาพระวิหาร หรือในภาษาเขมรเรียกว่า เปรี๊ยะวิเฮียร์ ตั้งอยู่บนเขาสูงซึ่งอยู่ในเขตแดนของกัมพูชา แต่ทางขึ้นชมปราสาทนั้นอยู่ในเขตไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ของ อช. เขาพระวิหาร ด้วยเหตุนี้นักท่องเที่ยวจึงต้องเสียค่าเข้าชมสองครั้ง คือ ค่าธรรมเนียมเข้าเขต อช. เขาพระวิหาร และค่าขึ้นชมปราสาทเขาพระวิหาร ไทยกับกัมพูชาเคยเกิดกรณีพิพาทเรียกร้องความเป็นเจ้าของปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ที่ตั้ง ติดเขตชายแดนประเทศไทย บริเวณผามออีแดง ต.เสาธงชัย อ. กันทรลักษ์ จ. ศรีสะเกษ ประวัติ ปราสาทเขาพระวิหารอยู่บนยอดเขาพระวิหาร สูง657 ม. อันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายที่เชื่อว่าพระศิวะซึ่งเป็นเทพเคารพสูงสุดและเป็นศูนย์กลางของจักรวาล สถิตอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ยอดเขาพระวิหารยังถือเป็นเขตภูเขาศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ และความอุดมสมบูรณ์ของสรรพสิ่งของชนพื้นเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งชุมชนอยู่รอบเขาพระวิหาร ก่อนที่จะสถาปนาให้สถานที่แห่งนี้เป็น ศรีศิขเรศวร ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งขุนเขา” เป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์อันศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ของพระศิวะ ตามความเชื่อของขอม สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ทรงสถาปนาให้เขาพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่เรียกกันว่า กมรเตงชคตศรีศิขเรศวร เพื่อหลอมรวมคนพื้นเมืองซึ่งมีทั้งจาม ขอม ส่วย ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระบบความเชื่อเดียวกัน ปราสาทเขาพระวิหารจึงเป็นศูนย์กลางความเชื่อ เป็นศูนย์รวมแห่งพิธีกรรมการนับถือบรรพบุรุษของชนพื้นเมือง มีการอุทิศถวายที่ดิน ข้าทาส วัตถุสิ่งของแด่ปราสาทเขาพระวิหารปราสาทเขาพระวิหารจึงเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญของทั้งกษัตริย์ขอมโบราณและกลุ่มคนพื้นเมืองบริเวณเขาพระวิหารซึ่งเดิมมีชื่อว่า กุรุเกษตร สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือพื้นที่ อ. กันทรลักษ์ อ. ขุขันธ์ จ. ศรีสะเกษ ปราสาทเขาพระวิหารหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือหันมาทางฝั่งไทย ระยะทางจากจุดเริ่มต้นเชิงเขาไปจนถึงปรางค์ประธานที่ตั้งอยู่บนยอดเขาประมาณ 850 ม. หรือเกือบ 1 กม. แบ่งออกเป็นสี่ระดับ แต่ละระดับเป็นที่ตั้งของอาคารรูปกากบาท หรือที่เรียกว่าโคปุระ ซึ่งเป็นพลับพลาหรือซุ้มประตูทางเข้าปราสาท มีสิ่งน่าสนใจตามทางเดินขึ้นปราสาทดังนี้ สิ่งน่าสนใจ @ บันไดนาคหัวลิง เหตุที่เรียกบันไดนาคหัวลิง เพราะนาคมีปากสั้น หัวเกลี้ยง ๆ แทนที่จะมีหงอน หรือเครื่องเคราอย่างนาคทั่วไป บันไดนาคหัวลิงยาวกว่า 100 ม. มีลานพักสองแห่ง ซึ่งประดับด้วยสิงห์หินทรายขนาดใหญ่ อันมีที่มาจากความเชื่อในคติขอมว่าสิงห์เป็นสัตว์มงคล ช่วยปกปักรักษาสถานที่ @ ลานนาคราช เป็นลานหินกว้าง 7 ม. ยาวเกือบ 4 ม. ที่ราวบันไดมีนาคราชเจ็ดเศียรประดับอยู่ นับเป็นสัญลักษณ์ของน้ำหรือมหาสมุทรมหานทีสีทันดรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุหรือปรางค์ประธานไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น